พันธุศาสตร์
คือ
วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของยีน ซึ่งเป็นตัวควบคุมการถ่ายทอดลักษณะ
จากรุ่นพ่อแม่ไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน และความแปรผันของลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่เป็นสาเหตุของวิวัฒนาการ
พันธุกรรม คือ ลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่สามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นลูกรุ่นหลายและต่อๆไปได้
ความหมายคำศัทพ์ทางพันธุศาสตร์
1.
เซลล์สืบพันธุ์
เป็นการกระบวนการอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิต
ที่เกิผลให้แม่กับผู้เป็นลูกมีความแตกต่างกัน แบ่งได้ 2 ชนิดคือ สเปิร์มจากพ่อ และ
ไข่จากแม่นับว่าเป็นโครงสร้างที่ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลพันธุกรรมที่ถ่ายทอดไปยังรุ่นลูก
2.
ยีน
ช่วงดีเอ็นเอที่สามารถถอดรหัสออกมาสร้างโปรตีนได้ ในกระบวนการ transcription ได้
3.
ฮอมอโลกัสโครโมโซม โครโมโซมที่
โลคัสยีน ขนาด รูปร่าง
รูปแบบของเซนโทรเมียร์ ที่คล้ายคลึงกันจึงมองแล้วเป็น
อันเดียวกันแต่ความจริงแล้วมันไม่ใช่
4.
แอลลีล
รูปแบบต่างๆของยีนที่สามารถอาศัยอยู๋บนโครโมโซมได้
5.
ซูโดแอลลีล
เป็นส่วนบนโครโมโซมที่คล้ายยีนแต่ไม่สามารถแสดงออกมาในรูปฟีโนไทป์หรืออาจไม่เกิดการถอดรหัสจากสายดีเอ็นเอให้เปนเอ็มอาร์เอ็นเอได้เพราะสาเหตุบางประการเช่น
การที่โครโมโซมนั้นขาดpromoterหรืออาจเรียกว่า
TATA BOX RNA polymerase ที่เป็นตัว ทำลายพันธะ H
ระหว่างคู่เบสและเติมนิวคลีโอไทด์เพื่อทำการสร้างสายใหม่
6.
ฟีโนไทด์ ลักษณะที่แสดงออกมา
ซึ่งเป็นได้ทั้งลักษณะที่อยู่ภายนอก
ลักษณะของสิ่งมีชีวตที่สามารถเห็นได้ด้วยตาทั่วไป ( ผ่านทางระบบการรับรู้ความรู้สึก )
7.
จีโนไทด์
เป็นการบรรยายลักษณะทางฟีโนไทด์ที่แสดงออกมาในรูปของข้อมูลทางพันธุ์กรรม
เช่น Aa aa AA
8.
ยีนเด่น
ลักษณะที่แสดงออกมาทุกกรณีไม่ว่าจะเข้าคู่กับแอลลีนแบบไหนก็ตามยีนเด่นตัวนี้จะแสดงออกมาในบางครั้งเป็นตัวที่ไปยับยั้งในยีนที่เข้าคู่กับมันไม่แสดงออก
ในทางพันธุกรรมแทนข้อมูลยีนเด่นด้วยพยัญชนะภาษาอังกฤษตัวใหญ่
ไม่จำเป็นยีนเด่นจะเป็นลักษณะที่ดี
หรือเป็นยีนของบุคคลหมู่มากของประชากรแต่กลับเป็นอาจเป็น ยีนที่ไม่ดี หมู่น้อยของบุคคลในสังคมก็ได้
9.
ยีนด้อย
ลักษณะที่แสดงออกให้เห็นเมื่อมีข้อมูลทางจีโนไทด์เหมือนกันเสมอ
ในทางพันธุกรรมแทนข้อมูลยีนเด่นด้วยพยัญชนะภาษาอังกฤษตัวเล็ก
ไม่จำเป็นยีนเด่นจะเป็นลักษณะที่ดี
หรือเป็นยีนของบุคคลหมู่มากของประชากรแต่กลับเป็นอาจเป็น ยีนที่ไม่ดี หมู่น้อยของบุคคลในสังคมก็ได้
10.
ลักษณะเด่น
ฟีโนไทด์ของยีนเด่นที่จะเห็นแสดงออกในรุ่นลูกหรือรุ่นต่อๆไปเสมอ
11.
ลักษณะด้อย ฟีโนไทด์ของยีนด้อย
แสดงออกในกรณีที่ไม่มียีนเด่นร่วมคู่จะสามารถปรากฏให้เห็นได้ในรุ่นลูกแต่หากมียีนเด่นมาเข้าคู่ด้วยลักษณะดังกกล่าวจะยังไม่แสดงในรุ่นลูก
กลับการเป็นยีนแฝงแทน จะไปเห็นในรุ่นลูกรุ่นหลาน เช่น
เมื่อบุคคลที่มียีนด้อยกับเด่นอย่างละตัวมาแต่งงานกันลูกที่เกิดขึ้นมาจะพบลักษณะด้อยดังกล่าวที่แสดงออกมาในรูปฟีโนไทด์
รูปแบบที่แสดงออกมาขึ้นกับข้อมูลของยีนด้อยนั้นว่ายีนนั้นเก็บข้อมูลแบบใดไว้
12.
ฮอมอไซกัส
การเข้าคู่กันของแอลลีนที่มีลักษณะเหมือนกัน มักเรียกว่า พันธุ์แท้
13.
เฮเทอโรไซกัส
เป็นการเข้าคู่กัรระหว่างคู่แอลลีนที่มีลีกษณะที่แตกต่างกันหรือต่งชนิดกัน
นิยมเรียกกันว่า พันทาง
14.
ลิงค์ ยีน ยีนที่อยู่บนโครโมโซมเดียวกันอยู่ใกล้ๆกัน
เมื่อที่การสืบพันธุ์กรรมมักมีการถ่ายทอดไปด้วยกัน
15.
ลิงค์เกจ กลุ่ม
กลุ่มยีนที่อยู่บนโครโมโซมเดียวกัน
มีแนวโน้มที่จะถ่ายทอดไปด้วยกันมากกว่าการถ่ายทอดอิสระในกฎของเมนเดล
ซึ่งหมายถึงเป็นการที่ยีนมีการถ่ายไปกันเป็นกลุ่มอาจจากสาเหตุของการเกิดกระบวนการ
ครอสซิ่ง โอเวอร์ในกระบวนการการแบ่งเซลล์สืบพันธุ์ ระยะโปรเพจ 1
16.
พอลียีน ยีนตั้งแต่ 2 ยีนขึ้นไป
มาทำหน้าที่ในการแสดงลักษณะทางพันธุกรรมเพียงลักษณะเพียงลักษณะดียว
17.
มัลติเปิลแอลลีน ลักษณะทางพันธุกรรมลักษณะหนึ่งที่
ควบคุมด้วยหนึ่งยีน แต่สามารถมียีนหลายรูปแบบมาทำหน้าที่แบบนี้ได้
18.
ออโตโซม โครโมโซมร่างกาย ในมนุษย์มี 22 คู่ 44 แท่ง
19.
Sex chromosome โครโมโซมเพศ
สารพันธุ์กรรม ( nucleic acid )
DNA
โครงสร้าง ดีเอ็นเอ
nucleic acid ชนิด ดีเอ็นเอ (DNAย่อมาจาก deoxyribonucleic acids)เป็นแหล่งในการเก็บข้อมูลทางพันธุ์กรรมของสิ่งมีชีวิต
ถูกคิดค้นโดย เจมส์ ดี วัตสัน และ ฟรานซิส
คริก ได้สร้างแบบจำลองโมเลกุลดีเอ็นเอซึ่งได้ข้อมูลในการสร้างจาก
ชาร์กาฟฟ์และโรซาลินต์ โดยมีโครงสร้างดังนี้
ดีเอ็นเอเป็นสายโพลีนิวคลีโอไทด์ (polynucleotide) 2 สายพันกันเป็นเกลียวเวียนขวาเรียกว่า เกลียวคู่ (double helix) โดยมีพอลินิวคลีโอไทด์ (polynucleotide) 2 สายนี้
เรียงตัวในแนวที่ตรงกันข้ามกันหรือพันกันในลักษณะทิศสวนทางตรงกันข้ามกัน (anti-parallel)
ซึ่งพอลินิวคลีโอไทด์(polynucleotide)สายหนึ่งเรียงตัวในทิศทางจาก
3’ ไป 5’ ส่วนพอลินิวคลีโอไทด์(polynucleotide)อีกสายหนึ่งเรียงตัวในทิศทาง 5’ ไป 3’ แต่ละสายประกอบด้วยหน่วยย่อยของนิวคลีโอไทด์ที่เชื่อมต่อกันด้วยพันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์ ซึ่งเป็นพันธะกันระหว่างหมู่ไฮดรอซี่ของคาร์บอนตำแหน่งที่
3 กับฟอสเฟตที่ตำแหน่งที่เชื่อมกับคาร์บอนตำแหน่งที่
5 ของตัวก่อนหน้า มาสร้างพันธะกันโดยที่ตำแหน่งที่ 5 ของคาร์บอนในน้ำตาล DNAจะมีฟอสเฟตมาเกาะทั้งหมด 3 ตัวชื่อว่า nucleoside
triphosphate สาเหตุนี้เป็นตัวที่ทำให้สายดีเอ็นเอมีคุณสมบัติเป็นกรด
ใน 1 รอบเกลียวของดีเอ็นเอประกอบด้วย 10 คู่เบส
โดยที่ในหนึ่งรอบเกลียวยาว 34 อามตอม ระหว่างคู่เบสยาว 3.4
อามตอม ซึ่งแต่ละขั้นบันไดจะมีการจับกันระหว่างคู่เบส เช่น A กับ T จับกันด้วยพันธะคู่
และ C กับ G เชือมกันด้วยพนธสาม
เบสเหล่านี้จะเชื่อมกับน้ำตาลดีเอ็นเอด้วยพันธะ
glycosidic bond
สมบัติ และหน้าที่
1.
มีสภาพเป็นกรด มีประจุเป็นลบ
2.
สามารถ
renature ใหม่ได้
มีความคงทนต่อสภาพแวดล้อม
3.
เพิ่มจำนวนตัวเองได้จากการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ
และมีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการ
4.
เก็บข้อมูลพันธุ์กรรม
5.
มีการเปลี่ยนแปลงได้เล็ดน้อย
อาร์เอ็นเอ
(RNA) หรือเรียกว่า กรดไรโบนิวคลีอิก (Ribonucleic acid – RNA) คือสายพอลิเมอร์ของ ที่ไม่มีการแตกกิ่งก้านสาขา
มีความยาวสั้นกว่าโมเลกุลของ ดีเอ็นเอ มาก มีโครงสร้างคล้าย ดีเอ็นเอ โดยอาร์เอ็นเอ (RNA) ประกอบด้วย น้ำตาลไรโบส (Ribose), เบส 4 ชนิด
อันประกอบด้วย อะดีนีน (Adenine, A) , ยูราซิล (Uracil,
U) , ไซโตซีน (Cytosine, C) และกัวนีน (Guanine,
G) และหมู่ฟอสเฟต
สมบัติ และ หน้าที่
1.
ไม่สามารถเพิ่มจำนวนตัวเองได้
ต้องปรับมาเป็นดีเอ็นเอก่อน
2.
ไม่เสถียร
ถูกทำลายได้ง่ายไม่สามารถกลับคืนมาได้
3.
เป็นสารพันธุ์กรรมหลักของ
viroid และไวรัสบางชนิด
4.
mRNA เป็นต้นแบบสำหรับการสังเคราะห์โปรตีน
5.
rRNA เป็นองค์ประกอบของไรโบโซม
6.
tRNA เป็นตัวนำโคดอนที่มีกรดอะมิโนมาส่งให้กลับ
mRNA
แหล่งที่มา
https://www.youtube.com/watch?v=GS4RKnbRizA
https://sites.google.com/site/ecologylearning/hnwy-thi-3/phanthu-sastr
โหย โคตรจะดี สุดๆ555+
ตอบลบ