วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พันธุศาสตร์

พันธุศาสตร์ 
         คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของยีน ซึ่งเป็นตัวควบคุมการถ่ายทอดลักษณะ จากรุ่นพ่อแม่ไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน และความแปรผันของลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่เป็นสาเหตุของวิวัฒนาการ
พันธุกรรม คือ ลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่สามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นลูกรุ่นหลายและต่อๆไปได้
ความหมายคำศัทพ์ทางพันธุศาสตร์
1.                เซลล์สืบพันธุ์    เป็นการกระบวนการอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิต  ที่เกิผลให้แม่กับผู้เป็นลูกมีความแตกต่างกัน  แบ่งได้ 2 ชนิดคือ สเปิร์มจากพ่อ และ ไข่จากแม่นับว่าเป็นโครงสร้างที่ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลพันธุกรรมที่ถ่ายทอดไปยังรุ่นลูก
2.                ยีน  ช่วงดีเอ็นเอที่สามารถถอดรหัสออกมาสร้างโปรตีนได้ ในกระบวนการ transcription ได้
3.                ฮอมอโลกัสโครโมโซม  โครโมโซมที่  โลคัสยีน  ขนาด  รูปร่าง  รูปแบบของเซนโทรเมียร์ ที่คล้ายคลึงกันจึงมองแล้วเป็น อันเดียวกันแต่ความจริงแล้วมันไม่ใช่
4.                แอลลีล  รูปแบบต่างๆของยีนที่สามารถอาศัยอยู๋บนโครโมโซมได้
5.                ซูโดแอลลีล  เป็นส่วนบนโครโมโซมที่คล้ายยีนแต่ไม่สามารถแสดงออกมาในรูปฟีโนไทป์หรืออาจไม่เกิดการถอดรหัสจากสายดีเอ็นเอให้เปนเอ็มอาร์เอ็นเอได้เพราะสาเหตุบางประการเช่น การที่โครโมโซมนั้นขาดpromoterหรืออาจเรียกว่า TATA BOX    RNA polymerase ที่เป็นตัว ทำลายพันธะ H ระหว่างคู่เบสและเติมนิวคลีโอไทด์เพื่อทำการสร้างสายใหม่
6.                ฟีโนไทด์  ลักษณะที่แสดงออกมา ซึ่งเป็นได้ทั้งลักษณะที่อยู่ภายนอก ลักษณะของสิ่งมีชีวตที่สามารถเห็นได้ด้วยตาทั่วไป ( ผ่านทางระบบการรับรู้ความรู้สึก )
7.                จีโนไทด์  เป็นการบรรยายลักษณะทางฟีโนไทด์ที่แสดงออกมาในรูปของข้อมูลทางพันธุ์กรรม เช่น  Aa aa  AA
8.                ยีนเด่น   ลักษณะที่แสดงออกมาทุกกรณีไม่ว่าจะเข้าคู่กับแอลลีนแบบไหนก็ตามยีนเด่นตัวนี้จะแสดงออกมาในบางครั้งเป็นตัวที่ไปยับยั้งในยีนที่เข้าคู่กับมันไม่แสดงออก ในทางพันธุกรรมแทนข้อมูลยีนเด่นด้วยพยัญชนะภาษาอังกฤษตัวใหญ่ ไม่จำเป็นยีนเด่นจะเป็นลักษณะที่ดี หรือเป็นยีนของบุคคลหมู่มากของประชากรแต่กลับเป็นอาจเป็น ยีนที่ไม่ดี หมู่น้อยของบุคคลในสังคมก็ได้
9.                ยีนด้อย   ลักษณะที่แสดงออกให้เห็นเมื่อมีข้อมูลทางจีโนไทด์เหมือนกันเสมอ ในทางพันธุกรรมแทนข้อมูลยีนเด่นด้วยพยัญชนะภาษาอังกฤษตัวเล็ก ไม่จำเป็นยีนเด่นจะเป็นลักษณะที่ดี หรือเป็นยีนของบุคคลหมู่มากของประชากรแต่กลับเป็นอาจเป็น ยีนที่ไม่ดี หมู่น้อยของบุคคลในสังคมก็ได้
10.           ลักษณะเด่น ฟีโนไทด์ของยีนเด่นที่จะเห็นแสดงออกในรุ่นลูกหรือรุ่นต่อๆไปเสมอ
11.           ลักษณะด้อย  ฟีโนไทด์ของยีนด้อย แสดงออกในกรณีที่ไม่มียีนเด่นร่วมคู่จะสามารถปรากฏให้เห็นได้ในรุ่นลูกแต่หากมียีนเด่นมาเข้าคู่ด้วยลักษณะดังกกล่าวจะยังไม่แสดงในรุ่นลูก กลับการเป็นยีนแฝงแทน จะไปเห็นในรุ่นลูกรุ่นหลาน เช่น เมื่อบุคคลที่มียีนด้อยกับเด่นอย่างละตัวมาแต่งงานกันลูกที่เกิดขึ้นมาจะพบลักษณะด้อยดังกล่าวที่แสดงออกมาในรูปฟีโนไทด์ รูปแบบที่แสดงออกมาขึ้นกับข้อมูลของยีนด้อยนั้นว่ายีนนั้นเก็บข้อมูลแบบใดไว้
12.           ฮอมอไซกัส การเข้าคู่กันของแอลลีนที่มีลักษณะเหมือนกัน  มักเรียกว่า พันธุ์แท้
13.           เฮเทอโรไซกัส  เป็นการเข้าคู่กัรระหว่างคู่แอลลีนที่มีลีกษณะที่แตกต่างกันหรือต่งชนิดกัน นิยมเรียกกันว่า พันทาง
14.           ลิงค์ ยีน  ยีนที่อยู่บนโครโมโซมเดียวกันอยู่ใกล้ๆกัน เมื่อที่การสืบพันธุ์กรรมมักมีการถ่ายทอดไปด้วยกัน
15.           ลิงค์เกจ กลุ่ม กลุ่มยีนที่อยู่บนโครโมโซมเดียวกัน มีแนวโน้มที่จะถ่ายทอดไปด้วยกันมากกว่าการถ่ายทอดอิสระในกฎของเมนเดล ซึ่งหมายถึงเป็นการที่ยีนมีการถ่ายไปกันเป็นกลุ่มอาจจากสาเหตุของการเกิดกระบวนการ ครอสซิ่ง โอเวอร์ในกระบวนการการแบ่งเซลล์สืบพันธุ์ ระยะโปรเพจ 1
16.           พอลียีน  ยีนตั้งแต่ 2 ยีนขึ้นไป มาทำหน้าที่ในการแสดงลักษณะทางพันธุกรรมเพียงลักษณะเพียงลักษณะดียว
17.           มัลติเปิลแอลลีน  ลักษณะทางพันธุกรรมลักษณะหนึ่งที่ ควบคุมด้วยหนึ่งยีน แต่สามารถมียีนหลายรูปแบบมาทำหน้าที่แบบนี้ได้
18.           ออโตโซม  โครโมโซมร่างกาย   ในมนุษย์มี  22  คู่ 44 แท่ง
19.           Sex chromosome  โครโมโซมเพศ  
สารพันธุ์กรรม ( nucleic acid )
DNA
โครงสร้าง ดีเอ็นเอ
nucleic acid   ชนิด ดีเอ็นเอ (DNAย่อมาจาก deoxyribonucleic acids)เป็นแหล่งในการเก็บข้อมูลทางพันธุ์กรรมของสิ่งมีชีวิต ถูกคิดค้นโดย เจมส์ ดี วัตสัน  และ  ฟรานซิส  คริก  ได้สร้างแบบจำลองโมเลกุลดีเอ็นเอซึ่งได้ข้อมูลในการสร้างจาก ชาร์กาฟฟ์และโรซาลินต์ โดยมีโครงสร้างดังนี้
 ดีเอ็นเอเป็นสายโพลีนิวคลีโอไทด์ (polynucleotide) 2 สายพันกันเป็นเกลียวเวียนขวาเรียกว่า เกลียวคู่ (double helix) โดยมีพอลินิวคลีโอไทด์ (polynucleotide) 2 สายนี้ เรียงตัวในแนวที่ตรงกันข้ามกันหรือพันกันในลักษณะทิศสวนทางตรงกันข้ามกัน (anti-parallel) ซึ่งพอลินิวคลีโอไทด์(polynucleotide)สายหนึ่งเรียงตัวในทิศทางจาก 3’ ไป 5’ ส่วนพอลินิวคลีโอไทด์(polynucleotide)อีกสายหนึ่งเรียงตัวในทิศทาง 5’ ไป 3’ แต่ละสายประกอบด้วยหน่วยย่อยของนิวคลีโอไทด์ที่เชื่อมต่อกันด้วยพันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์  ซึ่งเป็นพันธะกันระหว่างหมู่ไฮดรอซี่ของคาร์บอนตำแหน่งที่ 3 กับฟอสเฟตที่ตำแหน่งที่เชื่อมกับคาร์บอนตำแหน่งที่ 5 ของตัวก่อนหน้า มาสร้างพันธะกันโดยที่ตำแหน่งที่ 5 ของคาร์บอนในน้ำตาล DNAจะมีฟอสเฟตมาเกาะทั้งหมด 3 ตัวชื่อว่า nucleoside  triphosphate สาเหตุนี้เป็นตัวที่ทำให้สายดีเอ็นเอมีคุณสมบัติเป็นกรด
ใน  1 รอบเกลียวของดีเอ็นเอประกอบด้วย  10 คู่เบส โดยที่ในหนึ่งรอบเกลียวยาว 34 อามตอม  ระหว่างคู่เบสยาว 3.4 อามตอม ซึ่งแต่ละขั้นบันไดจะมีการจับกันระหว่างคู่เบส เช่น  A กับ T จับกันด้วยพันธะคู่ และ C กับ G เชือมกันด้วยพนธสาม เบสเหล่านี้จะเชื่อมกับน้ำตาลดีเอ็นเอด้วยพันธะ  glycosidic bond
สมบัติ และหน้าที่
1.             มีสภาพเป็นกรด มีประจุเป็นลบ
2.            สามารถ renature ใหม่ได้ มีความคงทนต่อสภาพแวดล้อม
3.            เพิ่มจำนวนตัวเองได้จากการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ และมีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการ
4.            เก็บข้อมูลพันธุ์กรรม
5.            มีการเปลี่ยนแปลงได้เล็ดน้อย
RNA
อาร์เอ็นเอ (RNA) หรือเรียกว่า กรดไรโบนิวคลีอิก (Ribonucleic acid – RNA) คือสายพอลิเมอร์ของ ที่ไม่มีการแตกกิ่งก้านสาขา มีความยาวสั้นกว่าโมเลกุลของ ดีเอ็นเอ มาก มีโครงสร้างคล้าย ดีเอ็นเอ  โดยอาร์เอ็นเอ (RNA) ประกอบด้วย น้ำตาลไรโบส (Ribose), เบส 4 ชนิด อันประกอบด้วย อะดีนีน (Adenine, A) , ยูราซิล (Uracil, U) , ไซโตซีน (Cytosine, C) และกัวนีน (Guanine, G) และหมู่ฟอสเฟต
สมบัติ และ หน้าที่
1.                ไม่สามารถเพิ่มจำนวนตัวเองได้ ต้องปรับมาเป็นดีเอ็นเอก่อน
2.                ไม่เสถียร ถูกทำลายได้ง่ายไม่สามารถกลับคืนมาได้
3.                เป็นสารพันธุ์กรรมหลักของ viroid  และไวรัสบางชนิด
4.                mRNA เป็นต้นแบบสำหรับการสังเคราะห์โปรตีน
5.                rRNA  เป็นองค์ประกอบของไรโบโซม

6.                tRNA เป็นตัวนำโคดอนที่มีกรดอะมิโนมาส่งให้กลับ mRNA


แหล่งที่มา
https://www.youtube.com/watch?v=GS4RKnbRizA
https://sites.google.com/site/ecologylearning/hnwy-thi-3/phanthu-sastr



วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ C#

ภาษา C#

 ภาษา C# (ซี-ชาร์ป) เป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระดับสูงที่ใช้สาหรับเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์1 ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน และเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสาหรับผู้ที่เริ่มต้นสนใจที่จะเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งภาษา C# ถูกพัฒนามาจากภาษา C++ (ซี-พลัสพลัส) และมีโครงสร้างแบบเชิงวัตถุ (object-oriented programming) โดยใช้ Visual Studio (วิชวล-สตูดิโอ) เป็นเครื่องมือสาหรับพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่ง Visual Studio เป็นเครื่องมือที่คอยอานวยความสะดวกในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทาให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ไม่ยากนัก
            ภาษา C# ได้รวบรวมข้อดีของภาษาต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นภาษา Java ภาษา C และ ภาษา C++ โดยมีข้อดีดังนี้

            1. เป็นภาษาที่เขียนง่าย ไม่ซับซ้อนและเรียบง่าย เพราะคล้ายภาษา Java ภาษา C และ ภาษา C++ ทาให้หลายคนเข้าใจได้ไม่ยาก

            2. เป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ยุคใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นมาสาหรับการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภายใต้แนวคิด .NET Framework ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในปัจจุบัน

            3. เป็นภาษาที่ถูกออกแบบมาให้ทางานบน .NET Framework (ดอตเน็ต-เฟรมเวิร์ก) โดย .NET Framework เป็นรูปแบบในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ ซึ่งบริษัทไมโครซอพท์เป็นผู้พัฒนา ซึ่งคุณสมบัติที่สาคัญของ .NET Framework ก็คือ ผู้ใช้งานสามารถใช้งานบนระบบฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือ ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ที่แตกต่างกันได้อย่างไม่มีปัญหา เช่น เครื่องพีซีกับเครื่องแมคหรือ ระบบปฏิบัติการวินโดว์กับระบบปฏิบัติการแมคอินทอช เป็นต้น ดังนั้น ผู้เขียนโปรแกรมจึงสามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ ได้โดยง่าย รวดเร็ว และไม่ต้องติดข้อจากัดต่างๆ อย่างเช่นการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในสมัยก่อนอีกต่อไป

            4. เป็นภาษาที่แข็งแกร่ง เพราะเป็นภาษาที่ได้มีการแก้ไขข้อบกพร่องบางอย่างของภาษา Java ภาษา C และ ภาษา C++ เหล่านั้น ทาให้ ภาษา C# เป็นภาษาที่มีความสมบูรณ์ตามแบบฉบับของโครงสร้างแบบเชิงวัตถุ(object-oriented programming)

1.2 เครื่องมือสำหรับพัฒนาโปรแกรม

            การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษา C# นั้น จะมีเครื่องมือที่ช่วยคอยอานวยความสะดวกสบายให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้อย่างง่ายดาย รวดเร็ว และ ผู้เขียนโปรแกรมสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวก็คือ โปรแกรม Visual Studio นั่นเอง
            Visual Studio เป็นซอฟต์แวร์ประเภท IDE (Integrated Development Environment) ซึ่งเป็นการนาแนวความคิดการทางานแบบรวมศูนย์มาใช้ คือ การทาให้วงจรการพัฒนาระบบทั้งหมดทางานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และ ง่ายดาย เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ ออกแบบจนถึงการนาไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นๆ (รายละเอียดของเครื่องมือสาหรับพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษา C# จะกล่าวอีกครั้งในบทที่ 2)

1.3 โครงสร้างโปรแกรมภาษา C#

            โครงสร้างโปรแกรมภาษา C# ขั้นพื้นฐานจะประกอบด้วยส่วนของโปรแกรมหลักแต่จะไม่มีส่วนของโปรแกรมย่อย (subroutine) โดยแสดงดังรูปที่ 1

                  

รูปที่ 1 โครงสร้างโปรแกรมภาษา C# ขั้นพื้นฐาน

จากรูปที่ 1 แสดงโครงสร้างโปรแกรมภาษา C# ขั้นพื้นฐาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

            1. หมายเลข (1) เป็นการระบุชื่อของ namespace ซึ่งใช้ในการกาหนดขอบเขตให้กับคลาสต่างๆรวมถึงใช้ในการจัดโครงสร้างของโปรแกรมขนาดใหญ่ให้เป็นสัดส่วนอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อนโดยมีผู้เขียนโปรแกรมหลายคน นอกจากนี้ การกาหนด namespace ยังช่วยป้องกันปัญหาการตั้งชื่อคลาสหรือค่าคงที่อื่นๆ ซ้ากันได้
            2. หมายเลข (2) เป็นการระบุชื่อของ class
            3. หมายเลข (3) เป็นการะบุพื้นที่สาหรับคาสั่งต่างๆ ที่ผู้เขียนโปรแกรมต้องการให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตาม

            นอกจากนี้ ในบางกรณี ผู้เขียนโปรแกรมสามารถที่จะไม่เขียนในส่วนของ namespace ได้ ถ้าโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมีขนาดเล็ก และ ไม่ซับซ้อนมากนัก ซึ่งการที่ไม่เขียนในส่วนของ namespace จะถือว่า class ที่ถูกสร้างขึ้นมาอยู่ใน namespace กลาง โดยแสดงดังรูปที่ 2

รูปที่ 2 โครงสร้างโปรแกรมภาษา C# ขั้นพื้นฐาน กรณีไม่เขียนในส่วนของ namespace

ตัวอย่าง โครงสร้างโปรแกรมภาษา C# ขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะแสดงข้อความ Hello C# ออกทางจอภาพ และจากนั้นรอจนกว่าผู้ใช้งานจะกด Enter แล้วจบการทางาน
กรณีที่ 1 เขียนในส่วนของ namespace โดยแสดงดังรูปที่ 3

รูปที่ 3 ตัวอย่างโครงสร้างโปรแกรมภาษา C# ขั้นพื้นฐาน กรณีเขียนในส่วนของ namespace

กรณีที่ 2 ไม่เขียนในส่วนของ namespace โดยแสดงดังรูปที่ 4


รูปที่ 4 ตัวอย่างโครงสร้างโปรแกรมภาษา C# ขั้นพื้นฐาน กรณีไม่เขียนในส่วนของ namespace
แหล่งที่มา
https://sites.google.com/site/programmingm42/phasa-c

วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ศ.นพ.ธีระ ทองสง

                  นอกจากในหมู่ลูกศิษย์นักศึกษาแพทย์ หมอ พยาบาล  คงมีน้อยคนจะคุ้นชื่อนายแพทย์ธีระ ทองสง 
ทั้งที่เขาถือเป็นคนสำคัญในการศึกษาวิจัยเพื่อควบคุมโรคร้ายแรงประจำภูมิภาคอย่างธาลัสซีเมียจนลดลงไปมากในภาคเหนือ
และกลายเป็นองค์ความรู้ให้แก่วงการแพทย์ทั่วไป  แต่หมอสูติฯ แห่งโรงพยาบาลสวนดอก เชียงใหม่
คนนี้ก็พอใจที่จะทำหน้าที่อย่างผู้ปิดทองหลังพระ
     ในบรรดาบุคลากรแพทย์เมืองไทยรู้จักชื่อเขาดี เพราะอาจารย์หมอผู้นี้มักได้รับเชิญไปบรรยาย
ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสูตินรีเวชตามมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลอยู่เสมอ รวมทั้งในต่างประเทศด้วยก็นับเป็นร้อย ๆ ครั้ง
  ในรูปแบบวิธีการบรรยายที่สนุก เร้าใจ ไม่น่าเบื่อ เป็นที่ติดอกติดใจของคนฟัง  ด้วยลีลาอารมณ์ของผู้มีวาทศิลป์
ลูกเล่น มุกตลก และสาระครบเครื่อง ราวนายหนังตะลุง-ผู้มีสื่อมัลติมีเดียอันทันยุคสมัยและแน่นหนาด้วยข้อมูลความรู้ใหม่ ๆ
ที่เขาลงมือค้นคว้าและผลิตด้วยตัวเองเป็นเครื่องมือ


เขายังเขียนตำราวิชาการไว้นับ ๑๐ เล่มซึ่งตีพิมพ์แพร่หลายเป็นที่ยอมรับ เป็นตำรามาตรฐานใช้ประกอบการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ
     มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการในประเทศและนานาชาติเกือบ ๒๐๐ เรื่อง ทำให้เขาได้รับการแต่งตั้ง
ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๕  และเป็นศาสตราจารย์ระดับ ๑๑ มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ 
ได้รับยกย่องเป็นเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ปี ๒๕๕๐ และปี ๒๕๕๓  เข้ารับพระราชทานโล่จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
แต่เขาใช้ชีวิตอย่างธรรมดาและเรียบง่าย ขับจักรยานยนต์มาทำงาน และไม่ได้ซื้อโทรศัพท์มือถือไว้พกติดตัว
เขาว่าเขาเลือกที่จะพอ แม้โดยอาชีพจะมีโอกาสสร้างความร่ำรวยได้
โดยเฉพาะผู้มีบทบาทเป็น “ครู” เช่นเขาด้วยแล้ว ต้องเป็นแบบอย่างแก่ศิษย์โดยวิถีชีวิต ยิ่งกว่าคำพูด
     กระทั่งเมื่อปี ๒๕๔๖ เขาได้รับการยกย่องเป็นอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติจากที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
  ปี ๒๕๔๗ รับโล่เกียรติคุณอาจารย์แพทย์ดีเด่นที่เป็นแบบอย่างในเชิงจริยธรรมคุณธรรมจากแพทยสภา 
และอีกหลายรางวัล อาทิ นักศึกษาเก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สาขาวิชาการ) รางวัลช้างทองคำ
(นักวิจัยดีเด่น) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฯลฯ หลังทำหน้าที่อาจารย์แพทย์มาเกือบ ๓ ทศวรรษ
    พื้นเพเดิมของ ศ.นพ.ธีระ ทองสง เป็นลูกชาวนาจังหวัดพัทลุง  จบ ม.ศ.ต้นจากโรงเรียนแถวบ้านเกิด
แล้วมาเรียนต่อโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ  จบปริญญาตรีวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และแพทยศาสตรบัณฑิตในสถาบันเดียวกัน  ได้ประกาศนียบัตรชั้นสูงด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
มหาวิทยาลัยมหิดล  แล้วไปฝึกอบรมเวชศาสตร์มารดาและทารกที่ประเทศเยอรมนีอีกเกือบ ๒ ปี
    ปัจจุบันเขาประจำอยู่ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  และเป็นนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ด้านสูตินรีเวช เชี่ยวชาญพิเศษด้านทารกในครรภ์ ประจำโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ หรือโรงพยาบาลสวนดอก
     ซึ่งนับตั้งแต่เรียนจบ เขาจะมาทำงานตั้งแต่เช้ามืดจนถึงดึกดื่นทุกวันไม่เว้นวันหยุด  นอกเวลาราชการเขาสอนพิเศษนักศึกษาแพทย์
โดยไม่มีรายได้ใด ๆ มานับหมื่นชั่วโมง
“ทุกวัน เจ็ดโมงเช้าผมจะมาถึงที่นี่แล้ว”
    ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระ พูดมาจากหลังโต๊ะทำงาน มุมด้านในของห้อง ซึ่งอยู่รวมกับคนอื่น ๆ อีกเกือบ ๑๐ คน
ในห้องหนึ่งบนชั้น ๓ ตึกบุญสม มาร์ติน โรงพยาบาลสวนดอก
     โต๊ะทำงานของศาสตราจารย์ระดับ ๑๑ เป็นโต๊ะไม้เรียบ ๆ ขนาดไม่ใหญ่ ไม่หรูหรา  มีคอมพิวเตอร์รุ่นทันสมัย ๒ เครื่อง
วางอยู่ด้านหลัง สำหรับทำมัลติมีเดียสื่อการสอนและประกอบการบรรยาย   
- See more at: http://www.sarakadee.com/2012/11/26/teera/
- See more at http://group.wunjun.com/thaihouseinusa/topic/23197-461


เทคโนโลยีกับชีวิตประจำวันของนักเรียน

             ในมังปัจจุบัน ประชากรคนส่วนใหญ่ในสังคม ณ ปัจจบันได้หันมาใช้เทคโนโลยีในการดำรงชีวิตประจำวันกันหมดแล้ว ซึ่งเทคโนโลยีในสังคมมีมากมายหลากชนิด ตามความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้นแล้วการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิผล มีมากมายหลายด้าน ได้แก่
1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำนักงาน ปัจจุบันสำนักงานได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อให้งานในสำนักงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น กล่าวคือ ทำให้งานมีความสะดวกรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ในงานสำนักงาน ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีด อิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ เครื่องถ่ายเอกสาร ผลิตภัณฑ์เหล่านี้นำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานได้หลายลักษณะ เช่น
        1.1 งานจัดเตรียมเอกสาร เป็นการใช้เครื่องประมวลผลคำหรือเครื่องประมวลผลเนื้อหา เป็นเครื่องมือในการจัดเตรียม อุปกรณ์ประกอบการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และช่องทางการสื่อสาร ระบบประมวลผลคำ แบ่งออกได้ 2 ระบบ คือ
            1.1.1 ระบบเดี่ยว (Stand – alone) เป็นระบบที่สามารถประมวลผลได้ภายในคอมพิวเตอร์ชุดเดียว หรือจะเชื่อมโยงไปยังคอมพิวเตอร์อื่น ๆ
            1.1.2 ระบบเชื่อมโยงกับข่ายการสื่อสาร เป็นระบบที่มีการเชื่อมโยงสารสนเทศซึ่งกันและกันผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม เช่น เครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์

        1.2 งานกระจายเอกสาร เป็นการกระจายข้อมูลสารสนเทศไปยังผู้ใช้ ณ จุดต่าง ๆ อาจกระทำโดยการเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถปฏิบัติงานกระจายเอกสารได้โดยอัตโนมัติ ได้แก่ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

        1.3 งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร สามารถทำได้ทั้งระบบออฟไลน์และระบบออนไลน์ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือผ่านเครือข่ายโทคมนาคมรูปแบบอื่น เช่นระบบฐานข้อมูลเป็นต้น


 
       
1.4 งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ดำเนินงานดังกล่าว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องสแกนเนอร์ โทรทัศน์
        1.5 งานสื่อสารสนเทศด้วยเสียง เช่น โทรศัพท์ การประชุมทางโทรศัพท์
        1.6 งานสื่อสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เช่น ระบบมัลติมีเดีย ระบบการประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง เป็นต้น

2. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเข้ามาช่วยในการจัดการระบบงานการผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุการเงิน บุคลากร และงานด้านอื่น ๆ ในโรงงาน
3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของเครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติ เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝาก ถอน โอนเงิน และนำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยในการทำงานประจำวันของธนาคารด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลของธนาคารต่างสาขา ต่างธนาคาร ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเบิก ถอน โอนเงินชำระเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้
4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการสื่อสาร ได้แก่ การบริการโทรศัพท์วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล

5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านสาธารณสุข เช่น
        5.1 ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล ถูกนำมาใช้ในระบบงานเวชระเบียน ระบบข้อมูลยาการรักษาพยาบาล การคิดเงิน รวมทั้งการส่งเวชระเบียนผ่านระบบโทรคมนาคมที่อาจเรียกว่า โทรเวชได้
        5.2 ระบบสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ในการดูแลรักษาโรคระบาดในท้องถิ่น เช่น เมื่อมีผู้ป่วยโรคอหิวาตกโรคในหมู่บ้าน ซึ่งอาจกลายเป็นโรคระบาดได้
        5.3 ระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยโรค เช่น ระบบ Mycinของมหาวิทยาลัยสแดนฟอร์ด โดยเริ่มมาใช้ในการวินิจฉัยโรคพืชและโรคสัตว์ ที่ใช้หลักการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้โดยละเอียดแล้วใช้หลักปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยวิเคราะห์ เป็นแนวคิดในการทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เหมือนมนุษย์


6. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการฝึกอบรมการศึกษา ดังนี้
        6.1 การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นการนำเอาคำอธิบายบทเรียนมาบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ แล้วนำบทเรียนนั้นมาแสดงแก่ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนอ่านคำอธิบายเหล่านั้น คอมพิวเตอร์จะมีส่วนที่ใช้ทดสอบความเข้าใจของผู้เรียนด้วยว่าถูกต้องหรือไม่ หากเข้าใจไม่ถูกต้องคอมพิวเตอร์จะทำการอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น แล้วถามซ้ำอีก
        6.2 การศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการศึกษาทางไกลมีหลายแบบตั้งแต่แบบง่าย ๆ เช่น การเรียนการสอนผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ ออกอากาศให้ผู้เรียนศึกษาเอง ตามเวลาที่ออกอากาศ ไปจนถึงใช้ระบบแพร่ภาพการสอนผ่านดาวเทียม หรือการประยุกต์ใช้ระบบประชุมทางไกล โดยผู้สอนและผู้เรียนสามารถสื่อสารถึงกันได้ทันที่ เพื่อสอบถามข้อสงสัยหรืออธิบายคำสอน เพิ่มเติม
        6.3 เครือข่ายการศึกษา เป็นการจัดทำเครือข่ายการศึกษาเพื่อให้ครูอาจารย์และนักศึกษามีโอกาสใช้เครือข่ายเพื่อแสวงหาความรู้ที่มีอยู่มากมายในโลก และใช้บริการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ทาง การศึกษา เช่น บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Mail : E-mail) การเผยแพร่และค้นหา ข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)


        6.4 การใช้งานในห้องสมุด มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานโดยมีเครือข่ายต่าง ๆ ที่ให้การส่งเสริมสนับสนุนในการให้บริการห้องสมุด การนำเทคโนโลยี
สารสนเทศมาใช้ในห้องสมุดให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบริการยืม คืน การค้นหาหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ หรือการค้นหาข้อมูลที่ต้องการทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมาก
        6.5 การใช้งานในห้องปฏิบัติการ มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานในห้องปฏิบัติการร่วมกับอุปกรณ์เครื่องมืออื่น ๆ เช่น การจำลองแบบ การออกแบบวงจรไฟฟ้า การ ควบคุม การทดลอง
        6.6 การใช้ในงานประจำและงานบริหาร เช่น การจัดทำทะเบียนประวัติของนักเรียน นักศึกษา การเลือกวิชาเรียน การลงทะเบียนเรียน การแสดงผลการเรียน การแนะแนวอาชีพ การแนะแนวการศึกษาต่อ การเก็บข้อมูลผู้ปกครองหรือข้อมูลครู ซึ่งทำให้ครูอาจารย์สามารถติดตามและดูแล นักเรียนได้ใกล้ชิดมากขึ้น รวมทั้งครูอาจารย์สามารถพัฒนาตนเองได้สูงขึ้น

Credit:http://mcpswis.mcp.ac.th/html_edu/cgi-bin/mcp/main_php/print_informed.php?id_count_inform=11419